วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ความต้านทานไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า

ความต้านทานไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า
2.1 ความต้านทานไฟฟ้า (Resistance)
ความต้านทานไฟฟ้า คือคุณสมบัติของวัตถุ ที่ต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า วัตถุทุกชนิดจะต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า วัตถุบางชนิดต้านได้มาก บางชนิดต้านได้น้อย ดังนั้น คุณสมบัติความต้านทานไฟฟ้า คือทำให้กระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง ถ้าในวงจรไฟฟ้า ค่าความต้านทานมีมากกระแสไฟฟ้าไหลได้น้อย แต่ถ้าในวงจรไฟฟ้า ค่าความต้านทานน้อย กระแสไฟฟ้าไหลได้มาก
ตัวต้านทานไฟฟ้า เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้นมา เพื่อใช้ต่อร่วมกับวงจรไฟฟ้า เพื่อบังคับให้กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนแปลงไปตามต้องการ ทำจากวัตถุที่ปล่อยอิเล็กตรอนหลุดออกจากวงโคจรได้น้อย
ตัวต้านทานไฟฟ้า บางชนิดทำจากอโลหะ เช่น ตัวต้านทานไฟฟ้าที่ชื่อว่า คาร์บอนรีซีสเตอร์ (Carbon Resistor) ที่ใช้ประกอบในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยมีลักษณะทรงกระบอกตัน มีหางทั้งสองข้าง ค่าความต้านทานมีแถบสีแสดง
ตัวต้านทานไฟฟ้าอีกชนิดหนึ่งทำจากโลหะ เช่น ตัวต้านทานที่เรียกว่า ไวร์วาล์วรีซีสเตอร์ มีลักษณะเป็นเส้นลวด ( ลวดนิโครม หรือ ลวดแมงกานีส ) พันรอบแท่งกระเบื่องหรือพอซเลน และมีขั้วสำหรับต่อสายไฟ ตัวต้านทานชนิดนี้โตกว่าชนิดคาร์บอน
2.2 ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)
ตัวนำไฟฟ้า คือวัตถุที่มีความต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้าน้อยมาก คุณสมบัติของวัตถุชนิดนี้จะนำกระแสไฟฟ้าได้ดี สารที่เป็นโลหะจะนำไฟฟ้าได้ดี เช่น เงิน ทองแดง อะลูมิเนียม ฯลฯ
2.3 ฉนวนไฟฟ้า (Insulator)
ฉนวนไฟฟ้า คือวัตถุที่มีความต้านทานต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าสูงมากหลายเมก-โอห์ม กันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวนำได้ วัตถุชนิดที่จะเป็นฉนวนไฟฟ้าได้ดี เช่น แก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติก ฯลฯ
2.4 หน่วยของความต้านทาน
ความต้านทานมีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohm) ใช้สัญลักษณ์ของหน่วย โอห์ม เขียนเป็น
1 กิโล-โอห์ม (kilo-ohm), k = 1,000 โอห์ม ( )
1 เมกะ-โอห์ม (Mega-ohm), M = 1,000 กิโล-โอห์ม (k )
= 1,000,000 โอห์ม( )



สัญลักษณ์ของความต้านทาน
2.5 ความต้านทานของสารตัวนำ
ขนาดและชนิดของสสารที่นำมาใช้ทำเป็นสายไฟในวงจรนั้น จะต้องทำให้มีความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อต้องการให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่ายๆ ในวงจรไฟฟ้านั้นความต้านทานของสายไฟฟ้าที่ใช้เป็นตัวนำนั้น จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของความต้านทาน (Law of Resistance) ซึ่งกล่าวไว้ดังนี้
1) ความต้านทานของตัวนำจะเปลี่ยนแปลงไปตามความยาวของตัวนำโดยตรง เช่น ถ้าสายตัวนำทองแดงยาว 1 เมตร มีความต้านทาน 0.004 โอห์ม ถ้าสายยาวเพิ่มขึ้น 2 เมตร ความต้านทานก็จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 0.08 โอห์ม
2) ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนค่าเป็นสัดส่วนกับพื้นที่หน้าตัดของตัวนำ หมายความว่า ถ้าพื้นที่หน้าตัดมีมากขึ้น ความต้านทานก็จะมีค่าลดลง และถ้าพื้นที่หน้าตัดมีน้อยลง ความต้านทานก็จะมีมากขึ้น
3) ความต้านทานของตัวนำต่างๆ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันตามธรรมชาติ
4) อุณหภูมิทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามความสัมพันธ์

= ความต้านทานเมื่ออุณหภูมิเป็น t องศา
= ความต้านทานของตัวนำเมื่ออุณหภูมิเป็น 0 C
t = อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
= (Alpha) สัมประสิทธิ์ – ความต้านทาน
โลหะ อุณหภูมิสูง จะมีความต้านทานเพิ่มขึ้น
อโลหะ อุณหภูมิสูง จะมีความต้านทานลดลง
2.6 ความต้านทานจำเพราะ (Specific Resistance or Resistivity)
ความต้านทานจำเพาะของลวดตัวนำใดๆ หมายถึง ความต้านทานจำเพาะของวัสดุตัวนำและลวดตัวนำชนิดนั้นที่จะบอกความต้านทานของสายที่มีขนาดตามกำหนด
ในระบบอังกฤษ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของสาย โตเป็นมิล(1มิล=1/1,000นิ้ว) และวัดพื้นที่หน้าตัดเป็นเซอร์คูลาร์มิล และยาว 1 ฟุต ณ อุณหภูมิที่กำหนด จะมีความต้านทานจำเพาะจำนวนหนึ่ง เช่น สายทองแดงขนาด 1 เซอร์คูลาร์มิล – ฟุต ที่อุณหภูมิ 20 C จะมีความต้านทาน 10.4 โอห์ม
ในระบบเมตริก วัดเส้นผ่าศูนย์กลางหน่วยเป็น เซนติเมตร และวัดพื้นที่หน้าตัดเป็นตารางเซนติเมตร และยาว 1 เซนติเมตร ณ อุณหภูมิที่กำหนดจะมีความต้านทานจำนวนหนึ่ง เช่น สายทองแดงขนาน 1 ตร.ซม. จะยาว 1 เมตร ที่อุณหภูมิ 20 C จะมีความต้านทาน 1.72 10 โอห์ม
หรือความต้านทานจำเพาะของตัวนำใดๆ หมายถึง ความต้านทานของวัตถุชนิดนั้นมีความยาว 1 เมตร พื้นที่หน้าตัด 1 มม. ที่อุณหภูมิ 20 C






ตารางที่ 2.1 แสดงความต้านทานจำเพาะที่อุณหภูมิ 20 C และสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ
ชนิดของวัตถุ
โอห์ม – ฟุต หรือ
เซอร์คูลาร์มิล – ฟุต
โอห์ม – ซม. หรือ
โอห์ม/ลูกบาศก์เมตร
โอห์ม – เมตร หรือ
โอห์ม/ลูกบาศก์เมตร
ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ
ทองแดง
เงิน
อะลูมิเนียม
เหล็ก
ทองเหลือง
ทังสเตน
แพลทินัม
นิโครม
10.4
8.85
16.9
60 – 84
42
33
66.2
600
1.72
1.47
2.63
10 – 14
6 – 8
5.5
11
100
1.72
1.47
2.63
10 – 14
6 – 8
5.5
11
100
0.00393
0.0038
0.0039
0.0055
-
0.0045
-
-
สูตรหา ความต้านทานของสาย
R =
เมื่อ R = ค่าความต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม
= ค่าความต้านทานจำเพาะ
หน่วย - โอห์มต่อเซอร์คูลาร์มิล – ฟุต
- โอห์มต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
- โอห์มต่อลูกบาศก์เมตร
= ความยาวหน่วยเป็น ฟุต เชนติเมตร หรือ เมตร
A = พื้นที่หน้าตัดของลวดตัวนำ หน่วยเป็น เซอร์คูลาร์มิล, ตารางมิลลิเมตร หรือ ตารางเซนติเมตร
ตัวอย่างที่ 2.1
จงหาความต้านทานของสายทองแดงที่มีพื้นที่หน้าตัด 750,000 เซอร์คูลาร์มิล ยาว 2,500 ฟุต
วิธีทำ จากสูตร R =
ความต้านทานจำเพาะของลวดทองแดง = 10.4 เซอร์คูลาร์มิล – ฟุต
= 2,500 ฟุต
A = 750,000 เซอร์คูลาร์มิล
แทน R = 10.4 ( 2,500/750,000)
= 0.035 โอห์ม
ความต้านทานทองแดง = 0.035 โอห์ม
2.7 ผลของอุณหภูมิต่อค่าความต้านทาน
สารตัวนำส่วนใหญ่ ค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น และถ้าอุณหภูมิต่ำลง ค่าความต้านทานของสารจะลดต่ำลงด้วย เพราะเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน การปล่อยอิเล็กตรอนจากปรมาณูของสารก็เปลี่ยนตามไปด้วย
สารหนึ่งๆ จะเปลี่ยนแปลงความต้านทานไปเป็นกี่เท่าของความต้านทานเดิมเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 1 C เรียกว่า สัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทาน (Temperature Coefficient of Resistance)
2.8 ค่าอุณหภูมิสมบูรณ์ (Absolute Temperature)
คือค่าของอุณหภูมิที่ทำให้วัสดุตัวนำนั้นๆ มีค่าความต้านทานเท่ากับ ศูนย์
ตารางที่2.2 ค่าอุณหภูมิสมบูรณ์ของวัสดุบางชนิด

ชนิดของวัสดุ
ค่าอุณหภูมิสมบูรณ์
นิกเกิล
เหล็ก
ทังสเตน
ทองแดง
อะลูมิเนียม
เงิน
ทอง
-147
-180
-202
-235
-236
-243
-274
2.9 ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ
คือ ค่าความต้านทานที่เพิ่มขึ้น เมื่อความต้านทานท1 โอห์ม ร้อนขึ้น 1 C
ตาราง 2.3 ตารางค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานของวัสดุตัวนำบางชนิด เมื่ออุณหภูมิ 20 C
ชนิดของวัสดุ
ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ
นิกเกิล
เหล็ก
ทังสเตน
ทองแดง
อะลูมิเนียม
เงิน
ทอง
0.006
0.0055
0.0045
0.00393
0.0039
0.0038
0.0034
ความต้านทานจะเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตามความสัมพันธ์ ดังนี้
จากสูตร R = R (1+a (t - t ) )
เมื่อ R = ความต้านทานเมื่ออุณหภูมิครั้งแรก
R = ความต้านทานเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
t = อุณหภูมิครั้งแรก
t = อุณหภูมิเปลี่ยนไป
a = ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทาน
2.10 ความนำ (Conductance)
ความนำเป็นส่วนกลับของความต้านทาน ซึ่งหมายถึง คุณสมบัติของสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านง่ายๆ นั้นคือความสามารถในการนำไฟฟ้าของตัวนำ ใช้สัญลักษณ์คือ G มีหน่วยเป็นซีเมนส์ (Siemens) ใช้ตัวย่อ S
G = 1/R ซีเมนส์
R = 1/G โอห์ม (ohm)

geovisit();

ตัวต้านทานไฟฟ้า

ตัวต้านทานไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้าในตัวต้านทานเกิดขึ้นเมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวต้านทาน โดยกำลังไฟฟ้านี้จะมีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt) ซึ่งตัวต้านทาน ที่มีใช้กันก็มีขนาดตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ไปจนถึงหลายร้อยวัตต์ ถ้าเราใช้ตัวต้านทานที่มีกำลังไฟฟ้าต่ำกว่ากำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงในวงจร ก็อาจจะทำให้ตัวต้านทานร้อนจนอาจะไหม้ได้ แต่ในวงจรบางแบบก็ต้องการให้ความร้อนนี้เกิดขึ้นมา เช่น ในอุปกรณ์ทำความ ร้อนฮีทเตอร์ (heater) ตัวกำเนิดความร้อนก็คือ ตัวต้านทานที่กำลังสูง ซึ่งทำมาจากลวดนิโครม กำลังไฟฟ้านี้จะเกิดจาก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด แต่ในวงจรวิทยุความร้อนที่เกิดจากตัวต้านทานนั้นไม่ดี เพราะฉะนั้น วงจรก็ต้องมีการเลือกตัวต้านทานให้มีอัตราทนกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับวงจร ในรูปที่ 3 เป็นรูปของตัวต้านทานขนาดต่างๆ ที่สามารถพบได้ทั่วไป

ทีรูป แสดงตัวต้านทานขนาดต่างๆ โดยตัวบนสุดจะเป็นไวร์วาวด์ ่มีขนาดใหญ่สุดไปจนถึง 1/8 วัตต์ที่ตัวล่างสุด
เราจะรู้ค่าความต้านทานได้อย่างไร ตัวต้านทานโดยทั่วไปจะมีการบอกค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสี ซึ่งจะมีวิธีอ่านแถบสีดังในรูปที่ 4 และในรูปที่ 5 เป็นตัวอย่าง ของค่าความต้านทานที่เราสามารถอ่านค่าได้ เป็นค่าตัวต้านทานมาตราฐานที่มีขายอยู่ทั่วไป
รูป การแสดงการอ่านค่าสีของตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยอ่านเรียงสีจากซ้ายไปขวา รูป เป็นตัวอย่างการอ่านค่าความต้านทานโดยอ่านจากซ้ายไปขวา
ตัวต้านทาน (Resistor) ตัวต้านทาน (Resistor) มีมากมายแตกต่างกันทั้งขนาดและรูปร่าง แต่ก็ทำหน้าที่อย่างเดียวกันคือ จำกัดกระแส (Limit curent) ซึ่งแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ (Fixed Resistor) ตัวต้านทานที่พบเห็นได้ง่ายในวงจรมักจะเป็นตัวต้านทานชนิดค่าคงที่ ตัวอย่างของตัวต้านทานแบบนี้แสดงให้เห็นดังรูป

รูปตัวอย่างตัวต้านทานชนิดค่าคงที่แบบต่างๆ

ตัวต้านทานที่มีค่าคงที่เหล่านี้บางชนิดทำมาจากคาร์บอนเคลือบด้วยพลาสติกหรือเซรามิค แข็งสีดำหรือสีน้ำตาล ตัวต้านทานบางแบบทำด้วยสารจำพวกโลหะออกไซด์ ตัวต้านทานชนิดนี้โดยทั่วไปจะมีค่าผิดพลาดน้อย (Tolerance) หรือมีค่าความถูกต้องเชื่อถือได้ตามที่บอกค่าไว้ที่ตีเป็นได้สูง ตัวต้านทานคงที่ชนิดลวดพัน (wire wound) ตัวต้านทานชนิดนี้ทำมาจากลวดความต้านทานพันรอบแกนฉนวน ซึ่งทำด้วยสารจำพวกเซรามิค ตัวต้านทานชนิดนี้มีลักษณะสมบัติพิเศษคือสามารถทนต่อการไหลของกระแสผ่านตัวมันได้สูงกว่าตัวต้านทานแบบอื่น สัญญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดค่าคงที่

รูปสัญญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดค่าคงที่
ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ (Topped Resistor) ตัวต้านทานบางชนิดอาจมีการเลือกค่าใดค่าหนึ่งได้ โดยปกติตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหลายขั้วแยกออกมาเป็นปุ่มหรือขั้ว การเลือกค่าตัวต้านทานทำโดยวิธีแยกสายหรือโผล่สายออกมาภายนอกที่เรียกว่า แท๊ป (Tap) การแท๊ปสายอาจทำได้มากกว่าหนึ่งที่ดังรูป
รูปสัญญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้
ตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ (Variable Resistor) บางครั้งเราจำเป็นต้องเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่น ใช้ปรับความดังวิทยุ-โทรทัศน์ ปรับเสียงทุ้ม เสียงแหลมในวงจรไฮไฟ ปรับความสว่างของหลอดไฟ ปรับแต่งเครื่องวัด ตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหน้าคอนแทคสำหรับใช้การหมุนเลื่อนหน้าคอนแทคในการปรับค่าตัวต้านทาน เพื่อเป็นการสะดวกต่อการปรับค่าความต้านทาน จึงมักมีแกนยื่นออกมาหรือมีส่วนที่จะทำให้หมุนปรับค่าได้ ที่ปลายแกนยื่นสามารถประกอบติดกับลูกบิดเพื่อให้หมุนได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในบางระบบอาจทำเป็นรูปเกือกม้า โดยไม่ต้องมีแกนหมุนยื่นออกมาแต่ปรับค่าได้โดยใช้ไขควงหรือวัสดุดื่นสอดเข้าในช่องแล้วหมุนหน้าคอนแทค คอนแทคจะเลื่อนไปทำให้ค่าความตีเนทานเปลี่ยน
รูปตัวต้านทานชนิดปรับทำได้
ภาษาช่างที่ใช้เรียกตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้ว่า โวลุ่ม (Volume)สัญญลักษณ์ของตัวต้านทานชนิดปรับค่าได้

ตัวต้านทานไวความร้อน (THERMISTOR) ตัวต้านทานแบบนี้มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ ส่วนมากอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ความต้านทานจะลดลง


สัญญลักษณ์ของเทอร์มิสเตอร์

ตัวต้านทานไวแสง (light dicrearing resistor) ใช้อักษรย่อ LDR ตัวต้านทานชนิดนี้จะเปลี่ยนค่าความต้านทานเมื่อความเข้มของแสงตกกระทบเปลี่ยนแปลง โดยปกติเมื่อความเข้มของแสงมีค่ามากกว่าความต้านทานจะมีค่าลดลง
สัญญลักษณ์ของตัวต้านทานไวแสง

รหัสสี หน่วยที่ใช้วัดค่าความต้านทานเรียกว่าโอห์มจากนิยามความต้านทานหนึ่งโอห์มหมายความว่า เมื่อป้อนแรงดันคร่อมตัวต้านทานหนึ่งโวลท์แล้วมีค่ากระแสไหลผ่านหนึ่งแอมแปร์ตัวต้านทานนั้นจะมีค่าหนึ่งโอห์ม
โครงสร้างและขนาดของตัวต้านทานที่ทนกำลังงานได้ต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้วัดหาค่าความต้านทานเรียกว่า โอห์มมิเตอร์(ohmmiter) แต่เมื่อใช้ตัวต้านทานในวงจรอิเลคทรอนิคส์ ในการที่จะวัดตัวต้านทานที่อยู่ในวงจรทำได้ยาก เพราะไม่สะดวกต่อการวัด ดังนั้นผู้ผลิตจึงกำหนดสัญญลักษณ์สีแทนค่าความต้านทาน ค่าตัวต้านทานกำหนดด้วยแถบสีสามสีที่พิมพ์ติดอยู่บนตัวต้านทานและการกำหนดค่าความผิดพลาด(tolerance) โดยปกติมีค่าเช่นน้อยกว่า 5% หรือน้อยกว่า 10% จะใช้แถบสีแถบที่สี่เป็นตัวบอก
แสดงแถบสีของตัวต้านทาน
แถบสีสองสีแรกคือแถบสีแถบ A และแถบ B เป็นตัวเลขที่บอกค่าความต้านทานของตัวต้านทานที่เป็นตัวเลขนัยสำคัญ (Significuntdigit) ส่วนในแถบ C เป็นตัวที่จะบอกให้ทราบว่า มีจำนวน 0 ต่อท้ายอยู่จำนวนเท่าใด หรือกล่าวได้ว่าเป็นตัวคูณ (multiplier) ด้วยสิยก กำลังค่าของแถบสีแถบ C ส่วนในแถบสีแถบ D นั้น จะเป็นสีทองหรือแถบสีเงิน แถบสีทองมีความหมายเป็นค่าผิดพลาดได้ไม่เกิน 5% ส่วนแถบสีเงินจะบอกความหมายเป็นค่าความผิดพลาด 10% ถ้าในแถบสี D มิได้พิมพ์สีใดไว้ ให้ถือว่ามีค่าความผิดพลาดได้ไม่เกิน 20% ค่าความผิดพลาดจะเป็นช่วงที่บอกว่าค่าความต้านทานจะผิดพลาดไปจากค่าที่อ่านจากแถบสีมากน้อยเพียงใดสีแต่ละสีที่ใช้เป็นสัญญลักษณ์ ที่แทนค่าตัวเลขใดตัวเลขหนึ่งมีค่า 0 ถึง 9 ดังตาราง
แถบสี
ตัวเลขเทียบเท่า
ตัวคูณ
ความคลาดเคลื่อน
ดำ
0
1
-
น้ำตาล
1
10
-
แดง
2
100
-
ส้ม
3
1,000
-
เหลือง
4
10,000
-
เขียว
5
100,000
-
น้ำเงิน
6
1,000,000
-
ม่วง
7
10,000,000
-
เทา
8
100,000,000
-
ขาว
9
1,000,000,000
-
ทอง
-
0.1
-
เงิน
-
0.01
-
ไม่มีสี
-
0.01
-
ตัวอย่างที่ 1 จงอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานในรูป
แถบสี
A
B
C
D
สี
น้ำเงิน
แดง
ส้ม
ไม่มีสี
ตัวเลข
6
2
3
ค่าผิดพลาด 20%
แถบสี A และ B เป็นเลขนัยสำคัญ 62 แถบสี C สีส้มมีความหมายเป็นตัวคูณด้วย kΩนั่นคือความต้านทานจะมีค่าเป็น 62,000 โอห์ม ±20% หรือ 62 kΩ ± 20%
ตัวอย่าง 2. จงอ่านแถบสีของตัวต้านทานในรูป


แถบสี
A
B
C
D
สี
ม่วง
เขียว
แดง
ทอง
ตัวเลข
7
5
2
ค่าผิดพลาด 5%

แถบสี A และ B เป็นเลขนัยสำคัญ 75 แถบสี C สีแดงมีความหมายเป็นตัวคูณด้วยแถบสี D เป็นค่าผิดพลาด 5% นั่นคือความต้านทานจะมีค่าเป็น 7500 โอห์ม ± 5% หรือ 7.5 kΩค่าผิดพลาดไม่มากกว่า 5%

ประจุในสนามแม่เหล็ก

แรงกระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งเคลื่อนที่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก เมื่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า q เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก B จะมีแรงมากระทำต่ออนุภาคนั้น ทำให้มีทิศการเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงไป เรียกแรงที่มากระทำนี้ว่า “แรงเนื่องจากสนามแม่เหล็กหรือ แรงลอเรนตซ์ (Lorentz force,FB)” ซึ่งมีค่าเท่ากับ
เมื่อ FB คือ แรงเนื่องจากสนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น นิวตัน(N)q คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ มีหน่วยเป็นคูลอมบ์(C)v คือ ความเร็วของประจุไฟฟ้า มีหน่วยเป็น เมตร/วินาที (m/s)B คือ ค่าสนามแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น เทสลา(T)คือ มุมระหว่างทิศของความเร็วของประจุไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก การหาทิศของแรงแม่เหล็ก โดยใช้ “กฎมือขวา” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ให้กางมือขวาออก โดยนิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน นิ้วหัวแม่มือ (แทนทิศของแรง F) ชี้ขึ้นตั้งฉากกับนิ้วทั้งสี่ แล้วให้นิ้วทั้งสี่ไปในทิศของความเร็ว v แล้วกำนิ้วทั้งสี่เข้าหาตัว (แทนทิศของ สนามแม่เหล็ก B) นิ้วหัวแม่มือชี้ทิศของแรง F ถ้าเป็นประจุลบแรงที่กระทำจะมีทิศตรงข้าม
กรณีที่ประจุไฟฟ้าวิ่งเข้าไปในสนามแม่เหล็ก B โดยความเร็ว ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กจะมีแรงกระทำตั้งฉากตลอดเวลาจะทำให้อนุภาคเคลื่อนที่เป็นวงกลม จะได้แรงกระทำจากสนามแม่เหล็ก = แรงสู่ศูนย์กลาง
เมื่อ r คือ รัศมีวงโคจรของอนุภาคเป็นวงกลม หน่วยเป็น mv คือ ความเร็วของการเคลื่อนที่ของอนุภาค หน่วยเป็น m/sm คือ มวลของอนุภาค หน่วยเป็น kgB คือ สนามแม่เหล็ก หน่วยเป็นเทสลา (T)ดังนั้นเราสามารถคำนวณคาบ (T) ของการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบได้จากระยะทางหนึ่งรอบหารด้วยความเร็ว
และ ความถี่ (f) ของการเคลื่อนที่ เท่ากับ
คือ อัตราเร็วเชิงมุม โดย

ความเป็นแม่เหล็ก

แท่งแม่เหล็กเมื่อถูกนำมาแขวนไว้กับเชือก เราจะพบว่าแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือใต้กับสนามแม่เหล็กโลก ปลายที่ชี้ไป ทางทิศเหนือเรียกว่า ขั้วเหนือ ส่วนปลายที่ชี้ไปทางทิศ ใต้เรียกว่า ขั้วใต้ ซึ่งคล้ายกับโลกเป็นแท่งเหม่เหล็กที่มีขั้วใต้อยู่ทาง ขั้วโลกเหนือ และมี ขั้วเหนืออยู่ทางขั้วใต้
สมบัติความเป็นแม่เหล็กเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ซึ่งอิเล็กตรอนที่หมุนรอบนิวเคลียสจะประพฤติ ตัวคล้ายกับว่าเป็นแท่ง แม่เหล็กเล็ก ๆ ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น ส่วนสารที่ไม่แสดงอำนาจแม่เหล็กเพราะว่าเมื่อมีอิเล็กตรอนตัวหนึ่งหมุนวนเป็นวงกลมรอบนิวเคลียสก็จะมีอิเล็กตรอนอีกตัวหนึ่งหมุนวนในทิศตรงข้าม ทำให้สนาม แม่เหล็กหักล้างกันหมด

ฟลักซ์แม่เหล็ก

ฟลักซ์แม่เหล็ก (Magneticflux,) คือปริมาณเส้นแรงแม่เหล็กหรือจำนวนของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งจากขั้วหนึ่งไปยังขั้วหนึ่ง ของแท่งแม่เหล็ก มีหน่วยเป็น เวเบอร์ (Weber,Wb) ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือ ความเข้มของสนามแม่เหล็ก (Magnetic flux densit) คือ จำนวนเส้นแรงแม่เหล็กต่อหน่วย พื้นที่ที่เส้นแรงแม่เหล็กตกตั้งฉากเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็น Wb/m2หรือ เทสลา (Tesla,T) จากนิยามจะได้ว่า
B คือ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก หรือ มีหน่วยเป็นWb/m2 หรือ เทสลา (T)

คือ ฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็น Wb A คือ พื้นที่ที่ตกตั้งฉาก มีหน่วยเป็น ตารางเมตร (m2)

เส้นแรงแม่เหล็ก

เส้นแรงแม่เหล็ก (Magnetic Lines of Force) คือ เส้นสมมติเสมือนว่าแท่งแม่เหล็กส่งอำนาจการดึงดูดไปถึง วิธีหาเส้นแรงแม่เหล็กทำได้โดย1.ใช้ผงตะไบเหล็ก โรยบนกระดาษที่วางทับแท่งแม่เหล็กไว้เมื่อกระดาษ เมื่อเคาะเบา ๆ จะมองเห็นแนวของเส้นแรง

2. ใช้เข็มทิศ แนวการวางตัวของเข็มทิศ คือ แนวของเส้นแรงแม่เหล็กจากวิธีการนี้จะทำให้เห็นว่าเส้นแรงแม่เหล็กมีทิศออกจากขั้วเหนือไปสู่ขั้วใต้เสมอ

สมบัติของเส้นแรงแม่เหล็ก 1. มีทิศพุ่งออกจากขั้วเหนือไปขั้วใต้ และมีความหนาแน่นมากบริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็ก ส่วนทิศของเส้นแรงแม่เหล็กโลกจะมีทิศจากขั้วโลกใต้สู่ขั้วโลกเหนือ เพราะแท่งแม่เหล็กโลกมีขั้วเหนืออยู่ทางทิศใต้ และขั้วใต้อยู่ทางทิศเหนือ


2. เส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน แต่จะรวมกันหรือต้านกันออกไป

สนามแม่เหล็ก

สนามแม่เหล็ก (Magnetic Field) คือ บริเวณที่แท่งแม่เหล็กส่งอำนาจการดึงดูดไปถึง ในไฟฟ้าสถิตย์ ประจุไฟฟ้าเป็นต้นกำเนิดของสนามไฟฟ้า แต่ในเรื่องแม่เหล็กไม่มี วัตถุใดที่เป็นจุดโดดเดี่ยวที่จะให้สนามแม่เหล็กออกมา หรือไม่มีขั้วแม่เหล็กเดี่ยว ๆ (magnetic monopole)นั่นคือไม่มีประจุแม่เหล็กที่มีความสัมพันธ์คล้ายกับไฟฟ้าได้ จากการทดลอง พบว่าสนามแม่เหล็กเกิดจากประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ดังนั้นความสัมพันธ์ ที่คล้ายกับความสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้ากับประจุ ได้คือ ประจุไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและสนามแม่เหล็กก็ทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ซึ่งความสัมพันธ์นี้บอกว่าประจ ที่เคลื่อนท ี่หรือกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็กและถ้าประจุเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กหรือวางลวดที่มีกระแสไหลในสนามแม่เหล็กจะมีแรงแม่เหล็กกระทำบนประจุหรือลวด