วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การซ่อมบำรุงเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ


เรื่อง การซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่จำเป็นต่ออาคารสูง ๆ และโรงพยาบาล โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม และ ชุมชนห่างไกล เป็นต้น ในปัจจุบันแม้ระบบส่ง-จ่ายไฟฟ้ามีเสถียรภาพและประสิทธิภาพเพียงใด แต่ในบางครั้งอาจเกิดปัญหาขึ้นมาเนื่องจาก
1.เกิดความบกพร่องของอุปกรณ์ในระบบ
2.เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว เป็นต้น
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะต้องหาสาเหตุและทำการแก้ไข ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้น อาจเป็นในส่วนของเครื่องต้นกำลังหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
7.1 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ต้นกำลังและสาเหตุ
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ได้ มอเตอร์สตาร์ทไม่ทำงาน
สาเหตุ
1.แบตเตอรี่หมด
2.เครื่องยนต์ไม่ฟรี
3.สวิทซ์มอเตอร์สตาร์ทเสีย
4.มอเตอร์สตาร์ทเสีย
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ได้จากการที่มอเตอร์สตาร์ทหมุนช้า
สาเหตุ
1.แบตเตอรี่ไฟไม่เต็มเนื่องจากชำรุดหรือไฟไม่ชาร์จ
2.ขั้วต่อสายแบตเตอรี่หลวม
3.มอเตอร์สตาร์ทเสีย
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ได้แต่มอเตอร์ทำงานปกติ
สาเหตุ
1.ตั้งจังหวะฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
2.กำลังต่ำ
3.ไส้กรองอากาศอุดตัน
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์ร้อนจัด
สาเหตุ
1.น้ำหล่อเย็นรั่ว
2.น้ำมันหล่อรื่นแห้ง
3.สายพานปั๊มน้ำขาดหรือหย่อน
4.หม้อน้ำรังผึ้งอุดตัน
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์เสียงเคาะ
สาเหตุ
1.ชาร์บละลายหรือหลวม
2.บูชก้านสูบเสีย
3.แหวนลูกสูบหลวม
4.สปริงวาร์วหัก
5.ตั้งจังหวะจุดระเบิดผิด
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์มีควันดำ
สาเหตุ
1.ตั้งสกรูส่งน้ำมันมากเกิน
2.ระบบเร่งฉีดของป็มฉีดค้าง
3.กำลังอัดกระบอกสูบต่ำ
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องสตาร์ทแล้วดับ
สาเหตุ
1.วาล์วรั่วหรือค้าง
2.ตั้งกัฟเวอร์เนอร์ในจังหวะเดินผิด
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
สาเหตุ
1.วาล์วรั่ว
2.ลูกสูบหลวม
3.ตั้งวาล์วผิด
4.แหวนลูกสูบหัก
5.ตั้งจังหวะจุดระเบิดผิด
6.เครื่องยนต์ร้อนจัด
ข้อขัดข้อง
1.เครื่องยนต์เดินเบาไม่สนิท
สาเหตุ
1.ตั้งกัฟเวอร์เนอร์ในตำแหน่งเดินเบาผิด
2.จังหวะจุดระเบิดผิด
3.วาล์วรั่ว
4.สปริงวาล์วหัก
7.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สาเหตุและการแก้ไข
ข้อขัดข้อง
1.ขณะทำงานมีเสียงดังผิดปกติ
สาเหตุ
1.โหลดไม่สมดุล
2.ตัวเชื่อม Coupling หลวมไม่ได้ระดับ
3.ระยะช่องว่างระหว่างโรเตอร์ และสเตเตอร์ไม่ดี
4.แผ่นเหล็กบางหลวม
วิธีการแก้ไข
1.ตรวจแก้โหลดให้สมดุล
2.ปรับตัวCouling ให้ได้ระดับ
3.ตรวจสอบสายพาน
4.กวดนัทให้แน่น
ข้อขัดข้อง
1.ความร้อนสูงผิดปกติ
สาเหตุ
1.ทำงานเกินพิกัด
2.โหลดไม่สมดุล
3.ฟิวส์ต่อสายไปโหลดขาด
4.การระบายความร้อนไม่ดี
5.ขดลวดโรเตอร์ลัดวงจรหรือขดลวดไม่ครบวงจร
6.ขดลวดสเตเตอร์ลัดวงจรหรือขดลวดไม่ครบวงจร
7.ลูกปืนแตก
วิธีแก้ไข
1.วัดกระแสเทียบกับขนาดบนแผ่นป้าย
2.จัดโหลดให้สมดุล
3.เปลี่ยนฟิวส์ใหม่
4.ทำความสะอาด
5.ตรวจและเปลี่ยนขดลวดที่ชำรุดใหม่
6.ตรวจสอบลูกปืน ว่าหลวม หรือแห้ง
ข้อขัดข้อง
1.ขณะทำงานไม่มีแรงดันเอาท์พุต
สาเหตุ
1.ขดลวดสเตเตอร์ลัดวงจรหรือขดลวดวงจรเปิด
2.ขดลวดโรเตอร์ลัดวงจรหรือขดลวดวงจรเปิด
3.สลิปริงลัดวงจร
4.ความชื้นภายใน
5.ไม่มีแรงดันไฟตรงแปรงถ่านบนสลิปริง หรือไม่มีแรงดันไฟตรงจากเอ็กซ์ไซด์เตอร์
6.โวลต์มิเตอร์บกพร่อง
7.จุดต่อสายหลวม
8.ลืมปรับโวลต์เรกเตจเรกกูเลเตอร์
วิธีแก้ไข
1.ตรวจและเปลี่ยนขดลวดที่ชำรุด
2.ตรวจความต้านทานฉนวน สลิปริงด้วยเมกเกอร์
3.ตรวจสอบความต้านทานขดลวด แล้วอบให้แห้ง
4.ตรวจดูความบกพร่องของสวิทซ์ ตวรจสอบฟิวส์จากสายไฟเอ็กซ์ไซด์เตอร์
5.ตรวจสอบโวลต์มิเตอร์
6.ทำความสะอาดที่สลิปริงและแปรงถ่าน
7.ทำความสะอาดและปรับหน้าสัมผัสให้แน่น
8.ปรับกัฟเวอร์เนอร์ควบคุมความเร็ว
ข้อขัดข้อง
1.แรงดันเอาพุทสูงผิดปกติ
สาเหตุ
1.ความเร็วสูงเกินไป
2.ป้อนฟิลด์มากเกินไป
3.ขดลวดสเตเตอร์ที่ต่อแบบเดลต้าวงจรเปิดชุดหนึ่ง
วิธีแก้ไข
1.ปรับกัฟเวอร์เนอร์ควบคุมความเร็วให้น้อยลง
2.ปรับโวลท์เตจเรกกูเรเตอร์
3.ต่อ หรือเปลี่ยนขดลวดที่ชำรุดใหม่
ข้อขัดข้อง
1.ความถี่ไม่ถูกต้อง เปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ
สาเหตุ
1.ความเร็วไม่ถูกต้อง หรือเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ
2.แรงดันไฟตรงป้อนฟิลด์ไม่คงที่
วิธีแก้ไข
1.ปรับกัฟเวอร์เนอร์ควบคุมความเร็ว
2.ปรับสายพานขับเอกไซด์เตอร์ให้ตึง
ข้อขัดข้อง
1.แรงดันเอาพุตสูง ๆ ต่ำ ๆ
สาเหตุ
1.หน้าสัมผัสโวลท์เตจเรกกูแลเตอร์สกปรก
2.ความต้านทานฟิลด์ภายนอกไม่แน่น
วิธีแก้ไข
1.ทำความสะอาด และปรับหน้าสัมผัสให้แน่น
2.ต่อและปรับหน้าสัมผัสให้แน่น
ข้อขัดข้อง
1.สเตเตอร์ร้อนเป็นจุด
สาเหตุ
1.ขดลวดอาร์เมเจอร์บางเฟสลัดวงจร
2.โรเตอร์ไม่ได้ศูนย์กลาง
3.ขดลวดแต่ละวงจรไม่สมดุล
4.ข้อต่อขดลวดไม่แน่น
5.การต่อลำดับเฟสขดลวดผิด
วิธีแก้ไข
1.ตรวจสอบและเปลี่ยนขดลวดที่ชำรุดใหม่
2.ตรวจการโค้งงอของเพลา
3.ปรับขดลวดแต่ละวงจรให้สมดุล
4.ทำข้อต่อขดลวดให้แน่น
5.ต่อลำดับเฟสของขดลวดให้ถูกต้อง
ข้อขัดข้อง
1.ขดลวดสนามแม่เหล็กร้อนเกินไป
สาเหตุ
1.ขดลวดสนามแม่เหล็กลัดวงจร
2.กระแสไฟตรงป้อนฟิลด์สูงเกินไป
3.การระบายความร้อนไม่ดี
วิธีแก้ไข
1.ตรวจสอบเปลี่ยนขดลวดที่ชำรุด
2.ลดกระแสไฟตรงจากเอ็กไซด์เตอร์ลง
3.ทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ เอาสิ่งที่กีดขวางทางระบายความร้อนออก
ข้อขัดข้อง
1.เมื่อสัมผัสโครงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แล้วไฟซ๊อค
สาเหตุ
1.ต่อขดลวดสนามแม่เหล็กที่สเตเตอร์กลับทาง
2.ประจุไฟฟ้าสถิตย์ หรือขดลวดสนามแม่เหล็กรั่วลงดิน
3.ขดลวดอาร์เมเจอร์รั่วลงดิน
วิธีแก้ไข
1.ตรวจลำดับขั้ว และต่อลำดับขั้วสายไฟให้ถูกต้อง
2.ตรวจข้อต่อสายดินของโครงเครื่องกำเนิด ทำความสะอาดและต่อใหม่ให้แน่น
7.3 การใช้งานชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
1.ทำการบำรุงรักษาชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตามกำหนดในคู่มือ
2.ติดตั้งเทอร์โมสตัดเพื่อควบคุมอุณหภูมิก่อนเดินเครื่อง
3.ใช้น้ำมันหล่อลื่นที่มีคุณภาพดี
4.ใช้น้ำมันเชื้องเพลิงที่ปราศจากสารเจื่อปนอื่น ๆ
5.ตระหนกถึงข้อควรระวังด้านความปลอดภัย
6.หลีกเลี่ยงการใช้งานชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเกินพิกัด
7.ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องยนต์ร้อนจัด อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต้องไม่เกิน 950c
8.หลีกเลี่ยงการใช้งานในลักษณะที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นต่ำกว่า 600 c ซึ่งมีผลต่อเครื่องยนต์
9.หลีกเลี่ยงการเดินเครื่องยนต์โดยระดับแรงดันน้ำมันหล่อลื่นต่ำกว่าสภาวะปกติ
10.หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องยนต์ที่ชิ้นส่วนชำรุด
7.4 การตรวจสอบสภาวะการใช้งาน
1.แรงดันของน้ำมันหล่อลื่นที่ความเร็วรอบ 1500 rpm ประมาณ 0.41 Mpa
2.อุณหภูมิน้ำมันหล่อเย็นเมื่อจ่ายกำลังไฟฟ้า ประมาณ 800c
3.อุณหภูมิของห้องเครื่องยนต์ ต่ำกว่า 510 c
4.การประจุไฟฟ้ากระแสตรงของแบตเตอรี่ชาร์จเจอร์
5.การประจุไฟฟ้ากระแสตรงของไดชาร์จ
6.ตัวสับจ่ายกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติทำงานถูกต้องหรือไม่
7.อุณหภูมิของน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลน้อยกว่า 710c
8.ความถี่ถูกต้องหรือไม่
9.แรงดันไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่
10.การจ่ายกระแสไฟฟ้าสมดุลหรือใกล้เคียงกันในแต่ละเฟส
11.ผู้ควบคุมมีหนังสือคู่มือการใช้งานพร้อมหรือไม่
12.บำรุงรักษาชุดเครื่องกำเนิดตามระยะเวลาที่กำหนด
7.5 การอ่านค่าแรงดัน กระแส ความถี่และการจ่ายกำลังไฟฟ้า
7.5.1 แรงดันไฟฟ้า
- การอ่านค่าแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายหรือแต่ละเฟส โดยเลือกวัดจาก Selector Voltage Switch
- การปรับค่าแรงดันไฟฟ้า ให้ปรับที่ Voltage Trimmer โดยสามารถปรับได้ประมาณ ± 5% ของพิกัดแรงดันที่ระบุไว้บน Name Plate
7.5.2 กระแสไฟฟ้า
- การอ่านค่ากระแสไฟฟ้าในแต่ละเฟส สามรถเลือกวัดได้จาก Selector Amp Switch
- หลีกเลี่ยงการจ่ายกระแสในแต่ละเฟสเกินพิกัดที่ระบุบน Name Plate ยกเว้นในกรณีชั่วขณะเกิดขึ้นไม่ถี่จนไปเกินไป และค่า p.f. 0.8 – 1.0
7.5.3 ความถี่
- อ่านค่าความถี่จากเครื่องวัดความถี่
- การปรับค่าความถี่สามารถกระทำได้โดยการปรับความเร็วรอบของเครื่องยนต์
- ควรปรับความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพื่อปรับค่าความถี่ระหว่าง 50.5 ถึง 52.5 Hz โดยความถี่จะลดลงเหลือประมาณ 50 – 50.5 Hz เมื่อจ่ายกำลังไฟฟ้า
7.6 ระบบควบคุม
ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีระบบควบคุมอยู่ 3 ระบบ คือ
- ระบบ MANUAL เป็นระบบซึ่งจำเป็นจะต้องมีคนดูแลและควบคุมการใช้งานเริ่มต้นเดินเครื่อง จ่ายกระแสให้โหลด ดับเครื่องและอื่นๆ
- ระบบ AUTOMATIC เป็นระบบซึ่งอำนวยความสะดวกในด้านการควบคุมระบบการเดินเครื่องการสับจ่ายกระแสไฟฟ้า การดับเครื่อง ตลอดจนการดับเครื่องในกรณีที่มีเหตุขัดข้อง
- ระบบ AUTOMATIC TEST เป็นระบบซึ่งมีไว้เพื่อทดสอบความพร้อมในการเดินเครื่องของระบบอัตโนมัติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น