วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

หม้อแปลงไฟฟ้า

การส่งกำลังไฟฟ้าที่มีค่ามากจากระยะไกล ๆ จะส่งที่ความต่างศักย์สูง ๆ และให้มีกระแสน้อยๆเพื่อลดการสูญเสียพลังงานในรูปความร้อนที่เกิดขึ้นในสายส่ง(ตามสมการ P=I2R) เมื่อต่อเข้าบ้านจะต้องลดความต่างศักย์ลงเหลือ 220 โวลต์ สายส่งจะมีความยาวไม่มากนักจึงใช้อุปกรณ์เปลี่ยนค่าความต่างศักย์ เรียกว่า “หม้อแปลงไฟฟ้า” หม้อแปลงไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่ใช้เพิ่มหรือลดความต่างศักย์กระแสสลับให้สูงขึ้นหรือต่ำลง โดยอาศัยหลักการเหนี่ยวนำไฟฟ้าระหว่างขดลวด ขดลวดที่ต่อกับ แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ เรียกว่า ขดลวดปฐมภูมิ ส่วนขดลวดอีกด้านเรียกว่า ขดลวดทุติยภูมิ ดังรูป

หม้อแปลง มี 2 ชนิด คือ1. หม้อแปลงขึ้น จะมีจำนวนขดลวดปฐมภูมิน้อยกว่าขดลวดทุติยภูมิ2. หม้อแปลงลง จะมีจำนวนขดลวดปฐมภูมิมากกว่าขดลวดทุติยภูมิ
จากการหาความสัมพันธ์ระหว่าง EMF และจำนวนรอบของขดลวด(N)จะได้ว่า เมื่อ 1 และ 2 คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิตามลำดับN1 และ N2 คือ จำนวนรอบของขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิตามลำดับI1 และ I2 คือ กระแสไฟฟ้าในขดลวดปฐมภูมิและทุติยภูมิตามลำดับ
ประสิทธิภาพของหม้อแปลง
การเลือกใช้หม้อแปลง ต้องพิจารณา1. EMF ด้านทุติยภูมิของหม้อแปลงต้องไม่น้อยกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะจะเกิดความเสียหายต่อหม้อแปลง2. กำลังไฟฟ้า ต้องมีค่าเท่ากันกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะหม้อแปลง ไม่ได้แปลงกำลังไฟฟ้าการใช้หม้อแปลงลงจะทำให้เกิดความร้อน ทางขดลวดทุติยภูมิมากขึ้นเพราะกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยปกติแล้วก็จะมีความร้อนเกิดขึ้นในขดลวดอยู่แล้ว เพราะเกิดกระแสวน ในขดลวด ซึ่งเป็นกระแสเหนี่ยวนำการแก้ไขการเกิดกระแสวน ให้น้อยที่สุด คือ ใช้แผ่นเหล็กอ่อนหลายๆแผ่นซ้อนกันและมีฉนวนบาง ๆ กั้นแต่ละคู่แทนแกนเหล็กแท่งใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น